การออกแบบและพัฒนา ของ เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา

เอเอช-1 คอบราถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางปีพ.ศ. 2503 ให้เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั่วคราวของกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งนำไปใช้ในสงครามเวียดนาม คอบราใช้เครื่องส่งสัญญาณ ระบบใบพัด และเครื่องบนต์ ที53 แบบเดียวกับที่ใช้ในยูเอช-1 ฮิวอี้[2]

เมื่อถึงเดือนมิถุนายนปีพ.ศ. 2510 เอเอช-1จี ฮิวอี้คอบราเครื่องแรกก็ถูกสร้างขึ้นมา เบลล์ได้สร้างเอเอช-1จีเป็นจำนวน 1,116 เครื่องให้แก่กองทัพบกสหรัฐฯ ในระหว่างพ.ศ. 2510 และพ.ศ. 2516 และคอบราได้ถูกลงทะเบียนในชั่วโมงบินกว่าล้านชั่วโมงในเวียดนาม

นาวิกโยธินสหรัฐสนใจในเอเอช-1จี คอบราอย่างมากแต่ก็ต้องการรุ่นที่มีสองเครื่องยนต์มากกว่าเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติการเหนือผิวน้ำและยังต้องการอาวุธที่ให้อำนาจการยิงมากยิ่งขึ้น ในตอนแรกกระทรวงกลาโหมได้ปฏิเสธคำร้องของของนาวิกโยธินที่ต้องการคอบราแบบสองเครื่องยนต์ด้วยการเชื่อว่าเอเอชแบบธรรมดานั้นได้เปรียบตรงที่เหมาะกับเครื่องยนต์หลายแบบ อย่างไรก็ตามนาวิกโยธินก็ชนะและได้ทำสัญญากับบริษัทเบลล์ให้สร้าง เอเอช-1เจ ซีคอบราแบบสองเครื่องยนต์เป็นจำนวน 49 เครื่องในปีพ.ศ. 2511 ด้วยมาตรการชั่วคราวกองทัพบกสหรัฐได้ส่งต่อเอเอช-1จีจำนวน 38 เครื่องให้กับนาวิกโยธินในปีพ.ศ. 2512 เอเอช-2เจยังได้ติดตั้งป้อมปืนที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น มันมีปืนใหญ่เอ็กซ์เอ็ม197แบบสามลำกล้อง

เอเอช-1ที ซีคอบรากำลังเตรียมลงจอดบนเรือยูเอสเอส อิโวจิม่า

นาวิกโยธินได้ร้องขอคอบราที่มีความจุกระสุนได้มากยิ่งขึ้นในปีพ.ศ. 2513 เบลล์ได้ใช้ระบบจากรุ่น 309 เพื่อสร้างเอเอช-1ที รุ่นนี้ทีหางที่ยาวและส่วนลำตัวที่ได้รับการพัฒนามาจากรุ่น 309 เบลล์ได้ออกแบบเอเอช-1ทีให้ไว้ใจได้และใช้งานได้ง่ายขึ้นในภาคสนาม มันยังได้เพิ่มระบบจับเป้าและเซ็นเซอร์แบบอื่นๆ อย่างเต็มรูปแบบ ในรุ่นที่พัฒานขึ้นไปอีกที่เรียกกันว่าเอเอช-1ที+นั้นมีเครื่องยนต์ที่ทรงพลังกว่าและอากาศกลศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาได้ถูกนำไปใช้ในอิหร่านในช่วงปลายปีพ.ศ. 2513 แต่การล้มล้างอำนาจของผู้นำในอิหร่านได้ทำให้การขายถูกยกเลิก

ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2523 นาวิกโนธินสหรัฐฯ ได้มองหาเฮลิคอปเตอร์สำหรับกองทัพเรือแบบใหม่แต่ก็ถูกปฏิเสธที่จะมอบทุนในการซื้อเอเอช-64 อาปาเช่โดยสภาในปีพ.ศ. 2524 นาวิกโยธินหันกลับไปตามหาเอเอช-1ทีรุ่นที่ทรงพลังยิ่งขึ้นไปอีก การเปลี่ยนแปลงยังรวมทั้งการดัดแปลงระบบควบคุมการยิงเพื่อบรรทุกและยิงขีปนาวุธแบบเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์และเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ รุ่นใหม่นี้ได้รับทุนจากสภาและได้รับชื่อว่าเอเอช-1 ดับบลิวซึ่งผลิตออกมาอย่างน้อย 266 เครื่อง

ผู้สาธิตเอเอช-1ที+และต้นแบบของเอเอช-1ดับบลิวได้รับการทดสอบในเวลาต่อมาด้วยระบบใบพัดแบบสี่ใบพัดแบบใหม่ ระบบใหม่นี้ทำให้มันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ลดเสียงและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกรบ ด้วยการที่ไม่มีสัญญากับกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ เบลล์จึงพัฒนารุ่นใหม่นี้ให้เป็นเอเอช-1ซีด้วยทุนของตัวเอง ในปีพ.ศ. 2539 นาวิกโยธินถูกปฏิเสธอีกครั้งในการสั่งซื้อเอเอช-64 การสร้างอาปาเช่ให้กับนาวิกโยธินนั้นมีราคาแพงและดูเหมือนว่าจะมีเพียงแค่นาวิกโยธินเท่านั้นที่เป็นลูกค้ารายเดียว พวกเขาจึงทำสัญญาในการพัฒนาเอเอช-1ดับบลิวจำนวน 180 เครื่องให้เป็นเอเอช-1ซีแทน

เอเอช-1ซี ไวเปอร์มีการออกแบบที่เปลี่ยนแปลงไปมากมาย ปีกทั้งสองของเอเอช-1ซีที่ได้รับการออกแบบใหม่มีความยาวมากกว่าเพื่อบรรทุกขีปนาวุธอย่างเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ได้มากขึ้น ในแต่ละปีกจะมีแท่นยิงจรวดไฮดราขนาด 70 ม.ม.หรือเครื่องยิงขีปนาวุธเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์แบบสี่ลูก เรดาร์ของลองโบว์นั้นสามารถนำมาติดตั้งบนปลายปีกได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา http://pma276public.navair.navy.mil/pma276public/h... http://hqinet001.hqmc.usmc.mil/AVN/documents/aircr... http://www.acig.org/artman/publish/article_206.sht... http://www.acig.org/artman/publish/article_301.sht... http://www.globalsecurity.org/military/library/rep... http://www.turkishdailynews.com.tr/article.php?ene... https://wrc.navair-rdte.navy.mil/warfighter_enc/ai... https://commons.wikimedia.org/wiki/AH-1_Cobra?setl...